Leap Day – เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้พิเศษตรงที่มี 29 วัน ไม่ใช่ 28 วันอย่างทุกปี เรียกวันพิเศษนี้ว่า leap day ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นทุกสี่ปี ภาษาอังกฤษเรียกปีอธิกสุรทินที่มี 366 วันเช่นนี้ว่า leap year (หรือ intercalary year ส่วนปีที่กุมภาพันธ์มี 28 วันเรียก common year) เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นั้นยาวกว่า 365 วันอยู่ราว ¼ ของวัน จึงมีการทดให้ครบ เพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในกิจการที่เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ ทั้งนี้เชื่อกันว่าจักรพรรดิ Julius Caesar เป็นผู้ให้กำเนิดปฏิทินแบบมี leap year นี้เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตศักราช
นอกจากนี้ในระบบปฏิทินที่อิงพระจันทร์ (lunisolar calendar) อย่างของจีนหรือไทย ยังมีระบบ leap monthที่มีการทดเดือนทั้งเดือนทุกๆ 2 หรือ 3 ปีอีกด้วย ซึ่งมีวิธีการนับที่ซับซ้อนกว่า
นอกจากเป็นปีที่กำหนดให้จัดกีฬาโอลิมปิก ในโลกตะวันตกยังมีธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับวัน leap day อยู่ เช่นอนุญาตให้ผู้หญิงขอผู้ชายแต่งงานในวันนี้ได้ ซึ่งเรียกว่าวัน Bachelor’s Day
ส่วนในทางคอมพิวเตอร์ ก็มีปัญหา leap year bug ที่ระบบปฏิบัติการงงกับวัน 29 กุมภาพันธ์ ที่เพิ่มเข้ามา ทำให้ประมวลผลผิดพลาด
- 16 มี.ค.
- 2020