Rat & Mouse – ย่างเข้าปีชวดแล้ว AUA Vocab Bite ขอว่าด้วยเรื่องของหนูรับศกใหม่สักนิด rat มักจะอยู่ในชุดคำศัพท์แรกๆ ที่ให้เด็กไทยท่องจำว่าหมายถึงหนู และมาเริ่มรู้จักคำ mouse ตอนได้ยินชื่อ Mickey Mouse ทำให้เริ่มรู้ว่ามีอีกคำที่ใช้เรียกหนูด้วย และต่อมาอาจเรียนเพิ่มเติมว่า mice คือรูปพหูพจน์ที่จัดอยู่ในกลุ่มพิเศษ ไม่ใช่เติม s ท้ายคำ
• พอโตขึ้นสักนิด และอยากทราบความแตกต่าง ก็มักจะแจกแจงแบบพื้นฐานว่า rat คือหนูที่เผ่นผ่านตามกองขยะหรือท่อน้ำทิ้งและเป็นตัวแพร่เชื้อโรค ส่วน mouse คือหนูตัวเล็กกว่า รวมถึงประเภทน่ารักที่เลี้ยงได้อย่างหนูถีบจักร
• แต่จริงๆ มีรายละเอียดมากกว่านั้น เท่าที่พอจะสังเกตได้ rat จะขี้ระแวง(cautious) มูลเป็นก้อนแคปซูล(capsule-shaped dropping) จมูกมนทื่อ(blunt snout) และกินอาหารทุกอย่างรวมถึงเนื้อสัตว์ รวมถึง mouse ด้วย
• ในขณะที่ mouse จะซุกซนสอดรู้สอดเห็น(curious) มูลเป็นเม็ดเล็กๆ กินเมล็ดธัญพืชเป็นหลัก และจมูกเป็นมุมสามเหลี่ยม (triangular snout)
• เราอาจจะสับสน rat ที่ยังโตไม่เต็มที่กับ mouse ได้ แต่ดูได้จากเท้าและหัวจะใหญ่กว่า ในขณะที่ mouse จะมีหูใหญ่และหางยาวกว่า
• ศัพท์พื้นฐานที่พอจะเชื่อมโยงได้ ก็คือ mouse trap (กับดับหนู) และ lab rat (หนูทดลอง – พบบ่อยกว่า lab mouse)
• ทั้ง rat และ mouse จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หากินตอนกลางคืน (nocturnal mammals) อยู่ในกลุ่ม rodent คือสัตว์ตัวเล็กที่มีฟันหน้าที่แข็งแรงในการแทะอาหาร ซึ่งรวมถึง เม่น(porcupine) แฮมสเตอร์ (hamster) และ กระรอก(squirrel) ด้วย ซึ่งโยงไปถึงคำ rodenticide(ยาฆ่าหนู)ด้วย
• ขอทิ้งท้ายด้วยวลีน่าสนใจสองสำนวนค่ะ คือ rat race ที่เปรียบถึงการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายทางการงานตามสังคมเมือง และ pack rat ที่หมายถึงหนูชนิดนึงที่ชอบสะสมเศษซากไว้ในรัง รวมถึงคนที่ชอบเก็บของที่ไร้ค่าไว้ในบ้านด้วย
#AUAVocabBite
- 13 ก.พ.
- 2020