Superlative Without ‘The’ – สุดๆ ได้ แบบไร้ ‘the’
มักจำกันว่า เมื่อเห็นคำคุณศัพท์ผันให้อยู่ในรูปของการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด (superlative degree of comparison) จะต้องมี ‘the’ นำหน้าเสมอ ไม่ว่าจะมี most นำหน้า หรืออยู่ในกลุ่มรูปพิเศษ อย่าง best, hardest, brightest, … ซึ่งใช่ในกรณีภาษามาตรฐาน แต่ยกเว้นบ้างในภาษาพูดหรือในการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ ลองดูประโยคต่อไปนี้ เพื่อหาลักษณะร่วมบางอย่างกันค่ะ
- Of all cities, New York City is the most beautiful one. (ในบรรดาทุกนคร นิวยอร์กเป็นนครที่สวยมากที่สุด)
- New York City is most beautiful in winter. (นิวยอร์กสวยที่สุดในยามฤดูหนาว)
- That candidate looks brightest. (ผู้สมัครคนนั้นดูฉลาดสุด)
- That candidate is the brightest (one). (ผู้สมัครคนนั้นเป็นคนที่ฉลาดมากที่สุด)
- The sausages of this butcher shop are (the) best for their quality. (ไส้กรอกจากร้านขายเนื้อนี้เยี่ยมที่สุดในด้านคุณภาพ)
- This butcher shop offers the best sausages. (ร้านขายเนื้อร้านนี้มีไส้กรอกที่ดีที่สุด)
- Which country has the highest crime rate? (ประเทศไหนมีอัตราอาชญากรรมสูงมากที่สุด)
- The crime rate was highest in which country? (อัตราอาชญากรรมสูงสุดที่ประเทศไหน)
- In Thailand, the temperatures seem highest in April. (ในไทย อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน)
เห็นได้ชัดว่าสามารถละ ‘the’ ได้ในหลายๆกรณีที่คำคุณศัพท์รูปsuperlativeนั้นอยู่ตำแหน่งตามหลังคำกริยา verb to be รวมถึงกลุ่ม linking verb และไม่มีคำนามตามหลัง (ทำหน้าที่ predicative adjectives ในทางไวยากรณ์) แต่ในกรณีที่ปรากฎหน้าคำนามหรือสรรพนาม จะต้องมี ‘the’ ประกอบหน้าอยู่ (ทำหน้าที่ attributive adjective) อธิบายอย่างย่อๆ ด้านความหมายได้ว่า รูปแรกต้องการเน้นว่าคำประธานมีคุณสมบัติดังกล่าวเป็นอย่างมาก ส่วนรูปแบบหลังต้องการเน้นขยายคำนามที่ประกบว่ามีคุณสมบัติดังกล่าวเหนือตัวเทียบอื่นๆ ซึ่งชี้เฉพาะเจาะจง จึงมี ‘the’ นำหน้า
ยังมีกรณีสำหรับรูปกริยาวิเศษณ์ด้วย ในสำนวนที่อาจพบเจอกันบ้าง อย่าง I do (my) best. You should work hardest. และ Please sleep earliest. ซึ่งสำนวนเหล่านี้ก็ไม่ต้องการ ‘the’ ประกบ สังเกตได้ว่าล้วนแต่เป็นคำที่สั้น และใช้ในภาษาที่ไม่เป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้มีทักษะภาษาอังกฤษได้ระดับเบื้องต้น ควรเลี่ยงรูปประโยคเหล่านี้ไปก่อน อ่านและฟังไปสักระยะหนึ่งก่อน เพื่อจับบริบทว่าเมื่อไหร่ถึงควรใช้